เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลชนิด
Film
badge
เป็นเครื่องวัดรังสีที่ใช้สำหรับติดไว้บนร่างกาย ของผู้ที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี ที่ได้รับความนิยมและนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายและยอมรับโดยทั่วไป ประกอบด้วยแผ่นฟิล์มวัดรังสีละกลักใส่ฟิล์ม ดังรูป1. ภายในกลักใส่ฟิล์มจะมีแผ่นกรอง (Filter) ที่เป็นโลหะชนิดต่างๆกันติดอยู่ เพื่อช่วยในการประเมินค่าปริมาณรังสีและพลังงานของรังสีที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ใช้เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลจะต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีหลายชนิด และมีพลังงานของรังสีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
หน้าที่ของแผ่นกรองแต่ละชนิดมีดังนี้
Sn และ Pb ใช้วัดรังสีที่มีพลังงานสูงๆตั้งแต่
75KeV ถึง 2 MeV
Al จะยอมให้ผ่านได้เฉพาะรังสีเอกซ์
และรังสีเบตาที่มีพลังงานต่ำๆ
Thick Plastics จะยอมให้ผ่านได้เฉพาะรังสีเบตาที่มีพลังงานสูง
ส่วนรังสีเบตาที่มีพลังงานต่ำ
จะถูกดูดกลืนไว้ทั้งหมด
Thin Plastics จะกั้นรังสี แอลฟา
และรังสีเบตาที่มีพลังงานต่ำๆ
O.W. จะยอมให้รังสีทุกชนิดผ่านได้และจะใช้วัดรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานระหว่าง
25-60KeV
ฟิล์มวัดรังสีโดยปกติจะมีขนาด30x40 มม.บรรจุอยู่ในห่อกระดาษที่ผิวด้านนอกสีขาวและด้านในสีดำแผ่นฟิล์มวัดรังสีประกอบด้วยฐานฟิล์ม(Film base or support) และอิมัลชัน(Emulsion or a sensitive layer)ฐานฟิล์มมีหน้าที่รองรับอีมัลชันให้มีสภาพปกติคงที่อยู่ในขอบเจตที่กำหนด
วัสดุที่จะนำมาใช้ทำฐานฟิล์มที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับแสง
ทางเคมี และเกี่ยวกับความร้อน
เช่นจะต้องเป็นวัสดุโปร่งใสและเป็นเนื้อเดียวกันตลอด
มีสภาพทางเคมีคงที่
ไม่ทำปฏิกิริยากับอิมัลชัน
ทนความชื้น
มีสภาพเหนียวและแข็งแต่สามารถดัดได้ง่ายไม่เปราะ
และทนต่ออุณหภูมิสูง เป็นต้น
ปกตินิยมทำฐานฟิล์มจาก Cellulose acitate, Polyester หรืออื่นๆตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
และตามความเหมาะสม
อิมัลชัน
เป็นส่วนที่มีความไวในการทำปฏิกิริยาต่อแสงหรือรังสีอิมัลชันมีองค์ประกอบ
2 ประการคือ เจลาติน (Gelatin) และ เกรน(Grain)
เจลาติน
เป็นสารประกอบโปรตีน
มีหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับยึดเกรนที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่ให้เคลื่อนย้ายหรือตกตะกอน
เกรนเป็นผลึกของเงินเฮไลด์
ที่มีคุณสมบัติไวในการทำปฏิกิริยาต่อแสงหรือรังสีและเงินเฮไลด์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเงินโบรไมด์(AgBr) ความ
ไวของอิมัลชันจะขึ้นอยู่กับขนาดของผลึกและปริมาณของเงินโบรไมด์
คือผลึกที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณมาก
จะมีความไวต่อแสงหรือ
รังสีไม่เท่ากันและบนผิวหน้าของอิมัลชันแต่ละด้านจะมีเจลาตินบางๆเคลือบไว้เพื่อป้องกันการกระทบหรือการขีดข่วนที่อาจทำให้สภาพ
ของชั้นผิดปกติได้
ส่วนประกอบของฟิล์ม
การเกิดปฏิกิริยา
ของอิมัลชันต่อรังสี
สามารถอธิบายได้ดังแสดงในรูป
A B
C
D
แสดงขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาของอิมัลชันต่อรังสีและการล้างฟิล์ม
รูปAเกลือเงินจะกระจายอยู่ทั่วไปบนแผ่นฟิล์มเมื่อมีรังสีมาตกกระทบบนแผ่นฟิล์มรังสีจะทำปฏิกิริยากับผลึกของเงินเฮไลด์
ส่วนที่ถูกรังสีจะเกิดปฏิกิริยาและเปลี่ยนแปลงไปได้อะตอมของโลหะเงินซึ่งทำให้ผลึกส่วนนี้สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำยาล้างฟิล์มได้เร็วกว่าผลึกส่วนที่ไม่ถูกรังสีเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ภายในเกรนของเกลือเงินซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ถ้าไม่ผ่านกระบวนการล้างฟิล์มเสียก่อน
ดังนั้น
จึงเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่าภาพแฝง(Latent Image)(จุดสีดำ)
ภาพแฝงที่เกิดขึ้นบนแผ่นฟิล์มเมื่อนำไปล้างด้วยน้ำยาสร้างภาพ(Developer)น้ำยาสร้างภาพจะเกิดปฏิกิริยากับเงินไอออน(Silver ions)ที่ได้รับรังสีให้กลายเป็นโลหะเงิน(Metallic silver)ดังแสดงในรูปB
รูปCเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จะได้โลหะเงินสีดำ(Black metallic silver)จากนั้นนำแผ่นฟิล์มนี้มาล้างต่อในน้ำยาสร้างภาพ(Fixer)
ซึ่งน้ำยาสร้างภาพนี้จะทำปฏิกิริยากับผลึกของเงินเฮไลด์ที่ไม่ถูกรังสี
ให้หลุดออกมาจากแผ่นฟิล์ม
ก็จะได้แผ่นฟิล์มรูปDที่พร้อมที่จะนำไปอ่านวิเคราะห์หาค่าปริมาณรังสีต่อไป
การนำฟิล์มวัดรังสีมาใช้งานนั้น
ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีจะต้องนำฟิล์มวัดรังสีบรรจุไว้ในกลักใส่ฟิล์ม
ติดไว้ที่ด้านหน้าบนร่างกายตลอดเวลาที่กำลังปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี
หรือเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่มีรังสี
เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลแบบฟิล์มนี้เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลเนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
และสะดวกต่อการพกติดตัว
เมื่อนำไปใช้งานแล้วจะได้นำกลับมาประเมินค่าปริมาณรังสีทุกๆ
1-3
เดือน
1. 2.
3.
การบรรจุฟิล์มลงในกลัก
การวัดหาค่าปริมาณรังสีของฟิล์ม
นำแผ่นฟิล์มที่ผ่านกระบวนการล้างแล้ว
มาวัดหาค่าความดำบนแผ่นฟิล์มด้วยเครื่องอ่านฟิล์มที่เรียกว่า
Densitometer ค่าที่วัดออกมาจะเป็นค่าความหนาแน่นทึบแสง(Optical Density, O.D.) จากนั้นนำค่า O.D. นี้ไปหาค่าปริมาณรังสีจาก
calibration Curve
การวัดรังสีนิวตรอนด้วยฟิล์มมีข้อแตกต่างจากการวัดรังสีแกมมาด้วยฟิล์ม
คือ
ฟิล์มจะไม่เกิดปฏิกิริยากับรังสีนิวตรอนโดยตรง
แต่จะเกิดได้ดีกับรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาเท่านั้นดังนั้นการที่จะนำฟิล์มมาใช้วัดรังสีนิวตรอนจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ทำมาจากธาตุที่รับนิวตรอนแล้วสามารถให้รังสีแกมมาออกมาเพื่อทำปฏิกิริยากับฟิล์มต่อไปมาขวางกั้นฟิล์มไว้
เรียกวัสดุนี้ว่า Converter Screen วัสดุนี้ส่วนใหญ่จะทำมาจากธาตุ
Cadmium(Cd), Indium(In) Gadolinium(Gd)
หรือ Dysproism(Dy)
ข้อดีและข้อเสียของฟิล์มวัดรังสี
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ใช้วัดปริมาณรังสีได้ในช่วงกว้าง(10x10-3-500R) |
มีอายุการใช้งานจำกัด |
บันทึกรังสีได้หลายชนิดบนแผ่นฟิล์มเดียวกัน |
ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ |
ใช้อ่านได้ถาวร
และเก็บเป็นหลักฐานได้ |
ไม่สามารถอ่านค่าปริมาณรังสีได้ทันที |
มีขนาดเล็ก
น้ำหนักเบา พกติดตัวได้สะดวก |
มีขั้นตอนการล้างฟิล์มและการวิเคราะห์ผลที่ยุ่งยาก |
จัดหาได้ง่ายและมีราคาถูก |
ต้องเก็บฟิล์มไว้ที่อุณหภูมิ
5-15 oCและค่าความชื้นสัมพัทธ์
ไม่เกิน 40% |