|
ตัวอย่าง คีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ใช้ประโยชน์จากความจุไฟฟ้า โดยตัวคีย์จะวางอยู่บนตัวกด (Plunger) ที่ติดอยู่กับแผ่นโลหะที่เคลื่อนที่ได้ (ดังรูป) โดยจะวางอยู่ห่างจากแผ่นโลหะด้านล่างที่ตรึงติดแน่น ด้วยระยะห่างค่าหนึ่ง เมื่อเรากดคีย์ แผ่นบนจะเลื่อนเข้าใกล้กับแผ่นล่าง ทำให้ความจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น วงจรไฟฟ้าภายในคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าว่ามาจากคีย์ตัวใดที่ถูกกด เพราะคีย์แต่ละคีย์จะมีการเปลี่ยนแปลงความจุไฟฟ้าไม่เท่ากัน เช่นคีย์ตัว ค. ควาย จะมีการเปลี่ยนแปลงของระยะน้อยหรือมากกว่า คีย์ตัว ข. ไข่ เป็นต้น กำหนดให้ ระยะห่างระหว่างแผ่นของคีย์ตัวหนึ่งเท่ากับ 5.00 x 10 -3 เมตร และลดลงเป็น 0.150 x 10 -3 เมตร เมื่อถูกกด ถ้าพื้นที่ของแผ่นโลหะเท่ากับ 9.50 x 10 -5 m2 และแผ่นไดอิเล็กตริกมีค่าคงที่เท่ากับ 3.5 จงคำนวณหาค่าความเปลี่ยนแปลงของความจุไฟฟ้า วิธีคำนวณ เมื่อกดคีย์ความจุไฟฟ้าจะเป็น
= 19.6 x 10-12 F = 19.6 PF เมื่อยังไม่ได้กด ความจุไฟฟ้าเป็น 0.589 x 10 -12 F (0.589 PF) เพราะฉะนั้นความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง 9.0 x 10 -12 F (19.0 PF) ยิ่งความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงมากเท่าไร วงจรไฟฟ้าก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นและผิดพลาดน้อยลงเท่านั้น |
|||
|
||||
|
ขณะที่หัวใจของคนไข้ใกล้จะหยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงสมองและกล้ามเนื้อได้ทัน ถ้าไม่รีบทำให้หัวใจเต้น คนไข้จะต้องเสียชีวิตค่อนข้างแน่นอน เพื่อจะช่วยชีวิตคนไข้ประเภทนี้ จะต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้กลับเข้าสู่จังหวะการเต้นในระดับปกติโดยเร็ว เครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้น กินกระแสไฟถึง 20 แอมป์ ให้พลังงาน 200 จูลในเวลา 0.002 วินาที หรือให้กำลังไฟฟ้าถึง 100 กิโลวัตต์ ในโรงพยาบาลเราสามารถสร้างกำลังไฟฟ้าขนาดนี้ได้อย่างสบาย แต่ว่าถ้าเป็นเหตุฉุกเฉินภายนอกโรงพยาบาล จะหากำลังไฟฟ้ามากมายขนาดนี้จากไหน เพราะ แบตเตอรี่รถยนต์อย่างเดียวไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้ามากขนาดนี้ได้ อ่านต่อครับ |
|||
|
เครื่องตะบันน้ำกับตัวเก็บประจุไฟฟ้า บทนำ คุณเคยสงสัยไหมว่า ตัวเก็บประจุทำงานอย่างไร และ เครื่องตะบันน้ำทำงานอย่างไร ทั้งสองมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องในลักษณะใด ฟิสิกส์ราชมงคลจะบอกเล่าความสัมพันธ์นี้ให้ทราบในหน้าถัดไป เครื่องตะบันน้ำ ตัวเก็บประจุ อ่านต่อครับ วีดีโอแสดงการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ
|
ปริศนาหีบแห่งพันธสัญญา ฟิสิกส์ราชมงคลขอนำท่านผู้อ่านไปพบกับหีบแห่งพันธสัญญา หรือ The Ark of Covenant เป็นหีบที่สร้างขึ้นตามพระบัญชาของพระเจ้า เพื่อเป็นที่บรรจุแผ่นหินจารึกบัญญัติ 10 ประการของพระองค์ ที่ประทานแก่โมเสสในระหว่างที่เขาพาพวกฮีบรูเร่ร่อนอยู่กลางทะเลทรายอันกันดาร หีบแห่งพันธสัญญาเป็นวัตถุมงคลที่จะถูกแบกนำหน้าขบวนชนชาวฮีบรูตลอดการเดินทาง เรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ของหีบ ที่จะทำลายล้างผู้บังอาจเข้าไปแตะต้อง แต่เรื่องราวที่เราๆท่านๆคุ้นเคยที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องของ อินเดียน่า โจนส์ ตอน Raiders of the lost Ark ที่ฝ่ายนาซีกับฝ่ายพระเอกแย่งชิงกันเสาะแสวงหาหีบแห่งพันธสัญญา โดยพวกนาซีก็หวังจะใช้อิทธิฤทธิ์ของหีบทำลายล้างศัตรู แต่ในที่สุดพวกนาซีนั่นแหละก็ถูกเพลิงจากหีบเผาผลาญตายไปเสียเองตามระเบียบของผู้ร้าย
ความจุไฟฟ้า เมื่อให้ประจุไฟฟ้ากับตัวนำ จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้าเป็นอัตราส่วนระหว่างประจุไฟฟ้าที่วัดถุได้รับกับศักย์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น วัตถุที่มีความจุไฟฟ้ามากต้องการประจุไฟฟ้ามากกว่าวัตถุที่มีความจุไฟฟ้าน้อยในการทำให้ศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเท่ากัน
เรียบเรียงจาก : หนังสืออิเลกทรอนิกส์ หน้าที่ 20 ขวดแก้วไลเดน (Leyden jar)
ตัวเก็บประจุนับว่าเป็นส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เก่าแก่ที่สุด ในศตวรรษที่ 18 เชื่อกันว่า ไฟฟ้ามีลักษณะคล้ายของเหลวที่ไหลผ่านตัวนำ และเก็บสะสมไว้ในขวดแก้วได้ดังที่เห็น ขวดที่ว่านี้ถือเป็น ตัวเก็บประจุแบบหนึ่งได้ โดยโลหะที่ฉาบอยู่ทั้งภายในและภายนอกทำหน้าที่เป็นเพลตส่วนแก้วเป็นไดอิเล็กทริก เครื่องกลในภาพสร้างความต่างศักย์แรงสูงขึ้นได้ เมื่อเราจับด้ามหมุนจานแก้วให้ถูกับแผ่นผ้าวิธีนี้เท่ากับ เป็นการประจุให้กับขวด ที่อยู่ใกล้ ๆ เรายังคงเรียกตัวเก็บประจุว่า "เครื่องควบแน่น" (condenser) มาจนถึง ราวปี ค.ศ. 1950 แม้ว่าจะขัดกับทฤษฎี ว่าด้วยเรื่องของไหลก็ตาม คลิกอ่านต่อครับ แฟลซทำงานอย่างไร กล้องถ่ายรูป ต้องใช้แสงมากในการสร้างภาพบนแผ่นฟิลม์ การถ่ายภาพในที่ร่ม หรือภายในห้อง ที่มีแสงน้อย จึงต้องเปิดหน้ากล้องเพื่อให้แสงผ่านเข้าเป็นเวลานานขึ้น การเพิ่มเวลาการเปิดหน้ากล้องมีข้อเสียอยู่เหมือนกัน ทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนและเบลอ กล้องดิจิตอลสมัยใหม่มีแฟลซในตัวใช้งานสดวกสบาย แฟลซอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาแสงให้กับกล้องถ่ายรูปได้ มันมีหน้าที่ระเบิดแสงออกมาอย่างรุนแรงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อคุณกดชัตเตอร์ หน้ากล้องจะเปิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และเก็บภาพที่ได้จากการสะท้อนแสงของไฟแฟลซเข้าไป ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยหลักการพื้นฐานของแฟลซอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับวงจรไฟฟ้า ให้คุณได้ทราบในหน้าถัดไป คลิกครับ |
ตัวเก็บประจุ |
||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ตัวเก็บประจุ |
![]() |
ตัวเก็บประจุ เก็บสะสมประจุไฟฟ้า ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา สามารถใช้เป็นตัวกรอง เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ |
ตัวเก็บประจุมีขั้ว |
![]() |
ตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว เก็บสะสมประจุไฟฟ้า เวลาใช้ต้องต่อให้ถูกขั้ว ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา สามารถใช้เป็นตัวกรอง เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ |
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ |
![]() |
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ใช้ในจูนเนอร์วิทยุ |
ตัวเก็บประจุทริมเมอร์ |
![]() |
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้โดยการใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจร จากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก |
![]() ในห้องทดลองนี้คุณสามารถเลือกการต่อตัวเก็บประจุเป็นแบบขนาน อนุกรม หรือผสม และยังสามารถเปลี่ยนค่าประจุไฟฟ้าแต่ละตัว พร้อมกับคำนวณหาค่าความจุไฟฟ้ารวม ได้ด้วย ให้คุณลองเล่นดูครับ กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง |
![]() ในห้องทดลองนี้คุณสามารถเลือกการต่อตัวต้านทานป็นแบบขนาน อนุกรม หรือผสม และยังสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานแต่ละตัว พร้อมกับคำนวณหาค่าความต้านทานรวม ได้ด้วย ให้คุณลองเล่นดูครับ กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง |
การชาร์จตัวเก็บประจุ
การชาร์จตัวเก็บประจุ
ถ้าไม่สามารถทดลองได้ ให้ Download
|
วงจร RC
ถ้าทดลองไม่ได้ ให้ Download
|
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง ตัวเก็บประจุ (อ.วัชระ)
- ความจุไฟฟ้า |
- ตัวเก็บประจุรูปทรงต่าง ๆ |
- การต่อตัวเก็บประจุ |
- พลังงานศักย์ทางไฟฟ้าที่ตัวเก็บประจุ |
- ตัวเก็บประจุที่มีสารไดอิเล็กตริก |
- แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 |
ภาพกระสุนทะลุกล้วย จะเห็นผลกล้วยระเบิด และแตกกระจาย ภาพนี้ถ่ายโดย สโตรโบสโคป Stroboscope เครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นรอบเป็นคาบอย่างรวดเร็วได้เหมือนกันวัตถุนั้นอยู่นิ่ง ตัวอย่างเช่น แผ่นเสียงหมุน 33 1/2 รอบต่อนาที ถ้าใช้แสงสว่างจากต้นกำเนิดอย่างหนึ่งซึ่งสามารถส่องแสงแวบได้ในความถี่เดียวกัน แล้วตาจะมองเห็นแผ่นเสียงนั้นได้ในทุกๆขณะที่แสงส่องแวบว่าอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกับที่เห็นในขณะที่แสงแวบครั้งก่อนนั้น จึงปรากฎว่าเสมือนกับแผ่นเสียงนั้นอยู่กับที่ ถ้าความถี่ของการเคลื่อนที่ไม่ตรงกับความถี่ของแสงแวบนัก จะเห็นเป็นว่าแผ่นเสียงดังกล่าวหมุนช้าๆ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสโตรโบสโคป ประกอบด้วยหลอดไฟ และตัวเก็บประจุ การถ่ายภาพความไวสูง ภาพลูกกระสุนทะลุไข่ การถ่ายภาพแมลงกระพือปีกให้ดูเหมือนหยุดค้างโดยที่ภาพไม่พร่าไหวนั้น จะต้องเปิดหน้ากล้องรับแสง (exposure) เป็นระยะเวลาสั้นมากๆ เกินกว่าที่กล้องถ่ายรูปธรรมดาจะทำได้ แม้จะรับแสงเป็นเวลาเพียง 1/1000 วินาที ภาพของปีกก็ยังไม่คมชัด จึงต้องให้ช่วงรับแสงสั้นลงอีก 10- 20 เท่า คลิกอ่านต่อครับ |
คลิกค่ะ
|
ยิงกล้วย (วีดีโอความเร็วสูง) Banana Bomb in UltraSlo slow motion
ยิงกล้วยให้แตกกระจาย
แสดงด้วยวีดีโอความเร็วสูง
คลิกครับ
|
ความจุไฟฟ้า ภายในประกอบด้วย ความหมายของความจุไฟฟ้า ตัวเก็บประจุแผ่นขนาน การต่อตัวเก็บประจุ และพลังงานในตัวเก็บประจุ จำนวน 16 แผ่น ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คลิกค่ะ
|
|
![]() |
ความจุไฟฟ้า นิยามของความจุไฟฟ้า
ตัวเก็บประจุแผ่นขนาน แบบทรงกลม และแบบทรงกระบอก ความจุึไฟฟ้าของโลก
ขั้นตอนการอัดและการคายประจุ ตัวนำกลวง ไดอิเล็กทริก
สมบัติของไดอิเล็กทริกในระดับโมเลกุล ของ อ. ภุชงค์ กิจอำนาจสุข
จำนวน 50 แผ่น
คลิกค่ะ
|
|
ตัวเก็บประจุสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากเหมือนกับน้ำที่เก็บกักไว้ในถัง เราสามารถอัดไฟเข้าไปในตัวเก็บประจุ และให้คายประจุออกมาเมื่อต้องการนำไปใช้ ดูวีดีโอ การถ่ายเทประจุอย่างรุนแรง คลิกครับ 650 kB (นักเรียนต้องระมัดระวัง เป็นอย่างมากถ้าต้องการทดลอง ควรมีผู้แนะนำครับ)
|
|
วีดีโอนี้แสดงให้เห็นการทำงานของแฟลช
คลิกครับ
(windows media 300 kB)
![]() |
|
Capacitor
หลักการทำงานของตัวเก็บประจุไฟฟ้า
คลิกค่ะ
|
|
ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุจะประกอบด้วยเพลตโลหะคั่นด้วยฉนวนตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป
ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่เก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลต
คลิกครับ
|
(วิธีทำ ให้ ใส่ชื่อ สกุล เลือกวิชาที่สอบ และจำนวนข้อ แต่ต้องไม่เกินจากที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดไว้ 10 ข้อ เวลาเลือกจำนวนข้อ ให้เลือก 5 และ 10 ข้อไม่เกินจากนี้ เป็นต้น เมื่อทำเสร็จสามารถดูคะแนนจากรายละเอียดผู้ทำข้อสอบได้ทันที
1.ความจุไฟฟ้า 10 ข้อ ของ ผศ. อดิชาติ บ้วนกียาพันธุ์
|
เรียนฟิสิกส์ออนไลน์ (เสียงภาษาอังกฤษ) มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษทุกตัวอักษร พร้อมทำแบบฝึกหัด
ตัวเก็บประจุ (Capacitors) |
เรียนฟิสิกส์ออนไลน์ (เสียงภาษาอังกฤษ) มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษทุกตัวอักษร พร้อมทำแบบฝึกหัด
ไดอิเล็กตริก (Dielectrics) |
บทความเพิ่มเติม 1. ตัวเก็บประจุ ( capacitor )
คลิกค่ะ
2. ตัวเก็บประจุ (Capcitor)
ตัวเก็บประจุ เสียงภาษาอังกฤษ ฟังง่ายคลิกค่ะ
3.
การอัดและการคายประจุของตัวเก็บประจุ
คลิกค่ะ
4. ตัวเก็บประจุ 1 ตัว ตัวเก็บประจุสองตัวต่ออนุกรมกัน |
![]() |
![]()
|
![]() |
![]() |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟิสิกส์ 2 | คู่มือการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์ 2 | คู่มือปฏิบัติการ ฟิสิกส์ 2 |
|
|
1. ไฟฟ้าสถิต | 2. สนามไฟฟ้า |
3. ความกว้างของสายฟ้า | 4. ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน |
5. ศักย์ไฟฟ้า | 6. กระแสไฟฟ้า |
7. สนามแม่เหล็ก | 8.การเหนี่ยวนำ |
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ | 10. ทรานซิสเตอร์ |
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ |
12. แสงและการมองเห็น |
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | 14. กลศาสตร์ควอนตัม |
15. โครงสร้างของอะตอม | 16. นิวเคลียร์ |
ครั้งที่
การเรียนฟิสิกส์ 2 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต