Interferometer ชนิดไมเคลสัน เป็นอุปกรณ์ทางแสงใช้วัดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ได้ เช่นการเลื่อนตำแหน่งที่น้อยมากๆ ซึ่งใช้ศึกษาการสั่นไหว หรือจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นก็ได้ เช่นอุณหภูมิ ความเร็วในการไหลของอากาศ ความหนาของฟิล์มที่เคลือบกระจก |
|
อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์ชนิดไมเคลสัน |
|
ตัวกำเนิดแสงเลเซอร์ตั้งอยู่ด้านหนึ่งของโต๊ะ เหนือจากพื้นโต๊ะประมาณ 8-10 นิ้ว เปิดสวิทซ์ให้แสงเลเซอร์ฉายไปยังกระจกแยกลำแสง (BS) ซึ่งจะแยกลำแสงออกเป็น 2 แนว โดยลำแสงลำแรก ทะลุผ่านไปยังกระจก M2 ส่วนลำที่สองสะท้อนเป็นมุม 90 องศาไปยังกระจก M1 ระยะทางจากกระจก BS ไปยังกระจก M1 และ M2 เท่ากัน |
ลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M1 ผ่านกระจกแยก BS และทะลุผ่านไปยังฉาก S ส่วนลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M2 ไปที่กระจกแยก BS และสะท้อนไปที่ฉาก S เกิดการแทรกสอดเป็นริ้วรอยมืดสว่างบนฉาก S เลนส์ DL ช่วยขยายริ้วรอยแทรกสอดให้มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ง่ายขึ้น ดังรูปล่าง |
|
ริ้วรอยแทรกสอดที่ได้จากอินเตอร์ฟิรอมิเตอร์ชนิดไมเคลสัน |
เนื่องจากเป็นเครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ทั้งหมดต้องอยู่ในระดับ จึงจะเกิดริ้วรอยแทรกสอดดังรูปได้ ถ้าคุณจับโต๊ะ จะทำให้โต๊ะเกิดการสั่นสะเทือน แม้เพียงเล็กน้อยโดยคุณไม่สามารถสังเกตเห็น ริ้วรอยแทรกสอดจะสั่นสะเทือนให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงมีความไวมากในการวัดความสั่นสะเทือน |
สิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน มีหลายอย่างดังเช่น รถวิ่งผ่าน คนเดินผ่าน จานตกแตก หรือแม้แต่ลิฟท์ในตึกที่เคลื่อนที่ขึ้นและลง อุปกรณ์นี้ตรวจจับได้ทั้งสิ้น |
ถ้าคุณกำลังทดลองอยู่ และเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ แรงสั่นสะเทือนของลม ทำให้ริ้วเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อย เช่นความร้อนจากมือ ทำให้ริ้วเคลื่อนไหวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามให้คุณไขน๊อตของอุปกรณ์กับโต๊ะให้แน่น ผลของอุณหภูมิจะลดลง |
เครื่องมือไมเคิลสันอินเทอร์อินเตอร์- ฟีรอมิเตอร์ (Michelson Interferometer)
ใช้ในการวัดความยาวได้อย่างแม่นยำได้อย่างละเอียด ทั้งนี้อาศัยหลักการ
แทรกสอดของแสง
หน้า
1. การทดลองของ (Michelson-Morley Experiment)
2. ภาพ 3 มิติ
4. ทฤษฎี
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง