การทดลองกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
ห้องทดลองนี้เป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงด้วยความเร่งคงที่ เรากำหนดให้ความเร่งของโลก g = 9.81 m/s2 และสามารถเปลี่ยนค่ามวลและสัมประสิทธ์แรงเสียดทานได้
คุณยังสามารถปรับแต่งตำแหน่งการวัด โดยใช้วัดเปลี่ยนตำแหน่งหัววัดแสง LB (Light Barrier) ซึ่งหัววัดนี้มีความถูกต้องแม่นยำ 5 มิลลิเมตร เมื่อการเคลื่อนที่สิ้นสุดลงจะปรากฎเวลาของการเคลื่อนที่ ซึ่งหน้าต่างแสดงนาฬิกามีความละเอียดของการวัด 1 มิลลิวินาที ให้กดปุ่มบันทึกข้อมูล ครั้งแรก หน้าต่างทางด้านล่างจะปรากฎค่า s กับ t ต่อไปให้เปลี่ยนค่า LB และบันทึกค่าถัดไป
ใบบันทึกผล
กำหนดให้ สัมประสิทธ์ความเสียดทาน = 0 มวล M = 100 กรัม มวล m = 5 กรัม
s(m) | t(s) |
0.2 | |
0.4 | |
0.6 | |
0.8 | |
1.0 |
a(ทดลอง) = ____________m/s2
a(ทฤษฎี) = ________________ m/s2 จากสมการ [m/(M+m)]g
จงเขียนกราฟระหว่าง s กับ t
และจงพิสูจน์ว่า s = at2/2 เป็นจริงตามทฤษฎี
ในการทดลองเสมือน ลองกำหนดให้ มวล M และมวล m เป็นศูนย์ จะเกิดอะไรขึ้น จงอธิบายอย่างละเอียด
ตัวอย่าง
ลองทดลองผ่านทางอินเตอร์เน็ตว่าผลที่ได้เป็นจริงหรือไม่ ?
สมการล่างเป็นการหาค่าความเร่งในกรณีที่คิดแรงเสียดทาน
a = ความเร่ง : m : มวลแขวน : g : ความเร่งโน้มถ่วงของโลก : m : สัมประสิทธ์แรงเสียดทาน : M : มวลของรถ
สมการล่างเป็นการหาระยะการเคลื่อนที่เมื่อทราบค่าของความเร่ง
ทฤษฎีนำมาจากหนังสือ
เดือนเมษายน ค.ศ. 1974 นายจอร์น แมสสิส สามารถใช้พละกำลังของตัวเขาเองในการลากโบกี้รถไฟ จากรูปจะเห็นว่าเขาใช้ปากงับเชือกที่ผูกไว้กับโบกี้รถไฟแล้วก็ดึงตู้โบกี้ทั้งตู้ไปตามราง โดยปกติตู้โบกี้จะมีน้ำหนักประมาณ 70 ตัน จะเห็นว่าแรงที่เขาต้องใช้มีค่ามหาศาลมาก ทุกคนคงจะมีคำถามอยู่ในใจว่า นายจอร์น แมสสิสเป็นซุปเบอร์แมนหรือไม่? และฟันของเขาสามารถทนแรงมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร อ่านต่อครับ
แบบฝึกหัด
ให้นักศึกษาเลียนแบบการดึงของนาย จอร์น แมสสิส โดยกำหนดให้ใช้มวลของตนเอง ลากโบกี้รถไฟที่มีมวลตั้งแต่ 50 ถึง 80 ตัน คำนวณหาความเร่งที่ได้ โดยให้การลากกระทำอยู่ในแนวระดับ ไม่ต้องเป็นแบบ 30 องศาแบบนายแมสสิส
บันทึกผลลงในตารางผลการทดลอง
มวลของตัวคุณเอง (kg) | |
มวลของรถไฟ(kg) | |
ความเร่งของรถไฟ (m/s2) | |
ความตึงของเส้นเชือก (นิวตัน) | |
ความเร็วสุดท้ายเมื่อลากไปเป็นระยะ 1 เมตร (m/s) |