มัลติมิเตอร์ VOM
แอมบ์มิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า , โวลต์มิเตอร์ ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า
โอห์มมิเตอร์ ใช้วัดความต้านทานไฟฟ้า
เครื่องมือวัดที่รวมการวัดกระแส แรงดัน และโอห์มเข้าด้วยกัน เป็นเครื่องวัดเดียวกัน เรียกว่ามัลติมิเตอร์
หรือ VOM (Volt - Ohm - milliammeter)
แอมบ์มิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องวัดที่ดัดแปลงมาจาก กัลวานอมิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดที่อาศัยการเปลี่ยนแปลง
ของสนามแม่เหล็ก เข็มของกัลวานอมิเตอร์จะบิดไปเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด ถ้าไหลมากเข็มจะบิดไปมาก
และถ้าปริมาณการไหลน้อย เข็มก็จะบิดไปน้อยด้วย
แอมมิเตอร์ที่ดีจะต้องมีความต้านทานภายในน้อยเมื่อเทียบกับความต้านทานในวงจรไฟฟ้า
โวลต์มิเตอร์ที่ดีจะต้องมีความต้านทานภายในมากเมื่อเทียบกับความต้านทานในวงจรไฟฟ้า
จาวาแอพเพล็ตนี้เป็นการดัดแปลงกัลวานอมิเตอร์ให้เป็นมัลติมิเตอร์
กัลวานอมิเตอร์ในแอพเพล็ตสามารถวัดกระแสได้สูงสุด 50 ไมโครแอมแปร์ โดยมีความต้านทานภายใน 2000 โอห์ม
คุณสามารถเปลี่ยนโมดการวัดได้หลายแบบ
1. เลือกโมดการวัด เป็น โวลต์ กระแส และความต้านทาน (Voltage Current and Resistance)
2. เลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม
3. คุณสามารถเปลี่ยนค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง และความต้านทาน
โดยคลิกเมาส์ที่ V และ R ดังนี้
คลิกเมาส์ ขวา/ซ้าย หนึ่งครั้ง เพื่อ เพิ่ม/ลด
แต่ถ้าคุณคลิกเมาส์ค้างเป็นเวลา 1 นาที ค่า V และ R จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ ทุกๆ 0.5 วินาที
เมื่อถึงค่าที่กำหนด ให้ปล่อยเมาส์
หน่วยของตัวต้านทานคือ กิโล-โอห์ม (Kilo-ohm)
ในช่องว่างคุณสามารถใส่ค่า R , R2 หรือ V ได้
(เมื่อพิมพ์ "," ใส่เข้าไป เครื่องจะเปลี่ยนให้เป็น "." โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น '' 2,3 " เครื่องจะอ่านเป็น "2.3" เป็นต้น
โดยถ้าคุณคลิกที่แหล่งจ่ายไฟ ช่องว่างบนจะเปลี่ยนเป็นค่าของความต่างศักย์ V
4. กดที่ปุ่ม OFF/ON เพื่อตัด และต่อมิเตอร์ออกจากวงจรกระแสไฟฟ้า
ถ้ากระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มากเกินไปหรือโอเวอร์โลด ฟิวส์(สีเขียว) จะขาดออก
ให้กดปุ่มเป็นสภาวะ off และเปลี่ยนช่วงการวัด
รูปมุมขวาล่างเป็นภาพวงจรรวมแบบง่ายของมิเตอร์ ให้สังเกตความต้านทานภายในปรากฎอยู่ในรูปนี้ด้วย
1. เลือกโมด Volatge VR เพื่อวัดแรงดันไฟฟ้า (โดยต่อขนานกับตัวต้านทาน)
มีความต้านทาน R และ R2 ต่ออนุกรมกัน (R2 สามารถเปลี่ยนค่าได้โดยการคลิกเมาส์)
มิเตอร์จะวัดแรงดันตกคร่อม R เมื่อทำการต่อมิเตอร์ขนานเข้ากับวงจรไฟฟ้า
2. เลือกโมด Current IR เพื่อวัดกระแสไฟโดยต่ออนุกรมเข้ากับตัวต้านทาน
มิเตอร์จะวัดกระแสไฟฟ้า เมื่อต่อมิเตอร์อนุกรมเข้ากับวงจรไฟฟ้า
3. เลือกโมด Resistor R เพื่อวัดความต้านทานที่ไม่ทราบค่า
มิเตอร์จะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟตรง (3V-9V แบตเตอรี่) เพื่อใช้ในการวัดความต้านทาน
ต่อตัวต้านทานที่ไม่ทราบค่าเข้ากับตัวต้านทานที่ทราบค่า(ภายในมิเตอร์)และต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง
จากการวัดแรงดันไฟฟ้า เราจะได้ค่าตัวต้านทานที่ไม่ทราบค่าได้
V = R_ทราบค่า/(R_ทราบค่า + R_ไม่ทราบค่า) * Vo
สมการบนไม่ใช่สมการเชิงเส้น
ดังนั้นมาตรส่วนของมิเตอร์ที่ใช้วัดความต้านทานจึงไม่ใช่เชิงเส้นด้วย
มาตราส่วนที่แสดงเป็น % คือความต้านทานที่มีค่าเป็นอนันต์
4. ค่า Rm เป็นค่าที่กำหนดไว้แล้ว
ถ้ากดเครื่องหมายที่อยู่ในช่องออก มิเตอร์จะมีความต้านทานภายในเป็นอนันต์(ซึ่งไม่ใช่ค่าจริง)
และถ้าเครื่องหมายในช่องยังมีอยู่ มิเตอร์จะมีความต้านทานภายในอยู่ด้วย
ลองเปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากการมีความต้านทานภายในและความต้านทานภายในเป็นอนันต์ว่าแตกต่างกันอย่างไร
เมื่อกดอยู่ในโมดการวัดความต้านทาน สีแดง (+) เทียบกับสีดำ (-) จะมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า คุณให้เหตุผลได้หรือไม่
5. โมดการเรียนและแบบฝึกหัด
คลิกเมาส์ที่จุดศูนย์กลางของมิเตอร์ (จุดขาว) จะเปลี่ยนเป็นโมดเรียนและแบบฝึกหัด
โมดเรียน (กำหนดค่าเริ่มต้น)
เข็มของมิเตอร์จะปรากฎให้เราเห็นตลอดเวลา
โมดแบบฝึกหัด
เข็มของมิเตอร์จะไม่ปรากฎ ผู้สอนสามารถกำหนดให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดโดยถามว่า5เข็มจะชี้ไปที่ใด
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง