ทดสอบความหนาแน่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เราจะทดสอบว่า วัตถุลอยหรือจมในของเหลวที่สามารถปรับค่าความหนาแน่นได้อย่างไร
กดปุ่มบนเพื่อเข้าสู่การทดลอง
คุณสามารถลากและปล่อยวัตถุลงในบีกเกอร์ เพื่อหาปริมาตร หรือนำไปไว้บนเครื่องชั่ง เพื่อหามวล และนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาความหนาแน่น
ความหนาแน่นของน้ำบริสุทธิ์คือ 1 กรัมต่อซีซี
วิธีทดลอง คลิ๊กเมาส์ค้างไว้ ที่วัตถุและลากไปบนเครื่องชั่งหรือบีกเกอร์ เพื่อหามวลและปริมาตร คุณสามารถวัดปริมาตรโดยสังเกตจากหน่วยมิลลิลิตรของน้ำที่ถูกวัตถุแทนที่ในบีกเกอร์ และถ้าต้องหาความหนาแน่น ให้นำมวลหารด้วยปริมาตรที่ได้ ความหนาแน่นของน้ำบริสทุธิ์ คือ 1 กรัมต่อซีซีหรือ 1 กรัมต่อมิลลิลิตร วัตถุที่สามารถลอยน้ำได้ความหนาแน่นจะต้องน้อยกว่าน้ำ ให้บันทึกค่าความหนาแน่นของวัตถุรูปทรงต่างๆ และทดลองดูว่ามันจมหรือลอยเมื่อนำไปไว้ในของเหลว
ความหนาแน่นของวัตถุประเภทต่างๆ
วัตถุ | ความหนาแน่น (g/cm3) |
โฟม | 0.1 |
ไม้ | 0.7 |
น้ำ | 1.0 |
น้ำตาล | 1.6 |
เกลือ | 2.2 |
อลูมิเนียม | 2.7 |
เหล็ก | 7.9 |
ตะกั่ว | 11.3 |
ทอง | 19.3 |
ใบบันทึกผลการทดลอง
กำหนดให้ความหนาแน่นของน้ำเป็น 1 กรัมต่อมิลลิลิตร
วัตถุ | มวล | ปริมาตร(มิลลิลิตร) | ความหนาแน่น(กรัม/มล.) | ลำดับที่ |
สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน | ||||
สามเหลี่ยมสีน้ำเงิน | ||||
สี่เหลี่ยมจตุรัสสีแดง | ||||
รูปไข่สีแดง | ||||
สีเหลี่ยมจตุรัสสีชมพู | ||||
รูปไข่สีม่วง | ||||
สามเหลี่ยมสีเขียว | ||||
สามเหลี่ยมสีเทา | ||||
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำตาล |
ปรับความหนาแน่นของของเหลวและนำเอาวัตถุไปลอย ให้สังเกตว่า วัตถุลอยหรือจม
วัตถุ |
จมหรือลอย |
||
ความหนาแน่น = 1 g/cc | ความหนาแน่น 2 g/cc | ความหนาแน่น 3 g/cc | |
สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน | |||
สามเหลี่ยมสีน้ำเงิน | |||
สี่เหลี่ยมจตุรัสสีแดง | |||
รูปไข่สีแดง | |||
สีเหลี่ยมจตุรัสสีชมพู | |||
รูปไข่สีม่วง | |||
สามเหลี่ยมสีเขียว | |||
สามเหลี่ยมสีเทา | |||
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำตาล |
ครั้งที่
เรื่องการทดลองเสมือนจริง