|
|
ประวัติโดยย่อ ในปี พ.ศ. 2450 มีนักศึกษาชื่อ โรเบิร์ต ก็อดดาร์ค ที่ต่อมารู้จักกันในนาม บิดาแห่งความเร็วสมัยใหม่ ได้ตีพิมพ์บทความที่เป็นหัวใจสำคัญเกี่ยวกับระบบขนส่งแมกเลฟเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2455 วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ อิมิเล บาเชอเลต ได้เสนอยานยนต์ที่ลอยตัวในอากาศทางแม่เหล็กสำหรับการส่งไปรษณีย์ ยานยนต์ของเขายกลอยตัวโดยการเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าในขดลวดทองแดงที่อยู่เหนือแผ่นอะลูมิเนียมคู่ที่แบนยาวเหมือนราง แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากต้องมีการใช้กำลังไฟฟ้าเป็นจำนวนมากจึงทำให้ผลที่ได้จากบาเลอเลตไม่ได้นำมาใช้กันจริงจังนัก และความคิดในเรื่องนี้จึงหยุดชงักไปกว่า 50 ปี ต่อมา พ.ศ. 2506 มีนักฟิสิกส์ชื่อ เจอาร์ โพเวล ได้แนะนำการใช้แม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดในการยกรถไฟให้ลอยเหนือรางตัวนำยิ่งยวด โดยเขาและผู้ร่วมงาน คือ กอร์ดอน แดนบาย ได้เสนอระบบที่ใช้รางตัวนำที่ราคาต่ำลงในการใช้งานที่อุณหภูมิปกติ และยังได้เสนอแนวคิดใหม่ของการนำขดลวดที่พันเป็นเลขแปด null-fluxมาใช้เพื่อให้มีการใช้แรงผลักดันให้น้อยที่สุด ในปี พ.ศ. 2513 ระบบรถไฟฟ้าแมกเลฟถูกพิจารณาและศึกษากันอย่างจริงจังในหลายประเทศ เช่น รถไฟฟ้าแมกเลฟถูกสร้างและทดสอบการลอยตัวทางแม่เหล็กและการดันทางแม่เหล็กที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดและกลุ่มวิจัยเอ็มไอทีที่ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ มีการทดลองที่มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ และมหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา เป็นต้น สำหรับการวิจัยในเยอรมันนั้นได้เริ่มในปี พ.ศ. 2513 ทั้งระบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้แรงยกลอยตัวจากการดูดและระบบไดนามิกไฟฟ้าที่ใช้แรงผลัก และต่อมาได้มีการพิจารณากันอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ส่วนในญี่ปุ่นก็ได้มีการวิจัยและพัฒนาผลของระบบแม่เหล้กไฟฟ้าจากการดูดและไดนามิกไฟฟ้าจากการผลัก โดยเป็นโปรแกรมที่ดำเนินการประสานกันของสายการบินญี่ปุ่นกับการรถไฟญี่ปุ่น
ระบบของญี่ปุ่น
| |||||||||||||||||||||||