|
|
ความหวังใหม่ รถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเยอรมัน ที่มีล้อบดอยู่บนรางจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหากเพิ่มความเร็วมากขึ้นไปอีกก็จะมีขอบเขตจำกัดในทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นสำหรับยานยนต์ที่มีล้อในการเคลื่อนที่ ดังนั้นยานยนต์หรือรถไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงจึงพัฒนาขึ้นมาให้มีการเหนี่ยวนำและเคลื่อนที่โดยแม่เหล็กไฟฟ้าโดยมีการลอยอยู่เหนือราง นั่นคือ มีเบาะอากาศอยู่เหนือราง การขนส่งทางพื้นดินด้วยความเร็วสูงที่เป็นรถไฟฟ้าที่ลอยในอากาศด้วยแม่เหล็กหรือจะกล่าวว่า บิน อยู่เหนือรางก็ได้ โดยมีชื่อเรียกกันเป็นสากลว่ารถไฟฟ้าแม่เหล็กลอยตัวหรือรถไฟฟ้าแมกเลฟ (maglev) ในปัจจุบันแม้ว่าจะยังอยู่ในขั้นวิจัยและทดสอบ แต่ก็เริ่มนำไปสู่การดำเนินการเชิงธุรกิจกันบ้างแล้ว แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วเราจะมองกันว่ายานยนต์แมกเลฟเป็นรถไฟฟ้า แต่กรรมวิธีในการออกแบบจะมุ่งเน้นไปใกล้เคียงกับเครื่องบินมากกว่า การพิจารณาในการเคลื่อนที่จึงมีหลายประเด็น เช่น แรงยก , แรกลาก และแรงนำทาง รวมไปถึงการไม่สมดุลต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การล้ม การหมุน และการเฉออกนอกเส้นทาง อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงการทำงานโดยไม่มีการสัมผัสทางกลกับรางเมื่อมีความเร็วสูง และใช้ร่วมกับระบบล้อเมื่อมีความเร็วต่ำ
| |||||||||||||||||||||||