ลักษณะและรูปแบบ
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
กากกัมมันตรังสี
รังสี
สิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัย
เศรษฐศาสตร์
อุบัติเหตุที่ผ่านมา
การทดลองเสมือนจริง |
นับเป็นความสามารถอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์
ที่สามารถทำให้ เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แล้วได้พลังงานความร้อนมากมาย
และถ่ายเทความร้อน มาใช้ประโยชน์ แท้ที่จริงแล้ว ปฏิกิริยานิวเคลียร์มีหลายแบบ
แต่ที่ใช้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในปัจจุบันนี้เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ คือ
ทำให้แตกตัว อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โดยการใช้อนุภาคนิวตรอนยิงเข้าใส่แกนกลางของอะตอม
หรือนิวเคลียส เป็นผลให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดอนุภาคนิวตรอนขึ้นมาอีก
แล้ววิ่งไปชนนิวเคลียสตัวอี่นต่อไป และเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
พร้อมกับให้พลังงานความร้อนออกมาตลอดเวลา ซึ่งเราจะต้องถ่ายเทความร้อน
ออกไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่มีปฏิกิริยานิวเคลียร์
ความร้อนที่เกิดขึ้นเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
รวมทั้งผลิตไฟฟ้า
การจัดหาพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
ได้มุ่งไปที่แหล่งผลิตจาก ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ เช่น ก๊าซธรรมชาติ
ลิกไนต์ แต่เนื่องจากแหล่งพลังงานดังกล่าวมีจำกัด การนำเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ยังได้ มีการพัฒนาแหล่งพลังงาน
ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตามประเทศไทยคงไม่สามารถพึ่งพาเพื่อนบ้านตลอดไปได้
ในขณะที่รัฐบาลต้องการสร้างความมั่นคง ทางด้านพลังงานไฟฟ้า ให้แก่ประเทศ
การพัฒนาพลังน้ำ ในการดำเนินงานมีอุปสรรคและปัญหา มากมาย การเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน
ปัญหาคือ มลภาวะ ในสิ่งแวดล้อม
ส่วนพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์
สามารถเป็นเพียงพลังงานเสริม เนื่องจากมีขีดจำกัดในการพัฒนา และไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ
พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด
จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในอนาคต ในขณะที่ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า
ในระดับสูง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
|

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โกริ (Kori)
ประเทศ เกาหลี

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โดเอล (Doel)
ประเทศ ฝรั่งเศส

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทอร์นเนส
ประเทศ สกอตแลนด์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ตริลโล (Trillo)
ประเทศ สเปน
|